เล่าเรื่องโดย ชยสาโร ภิกขุ
ครั้งหนึ่งท่านอาจารย์ขึ้นเครื่องบินจากกรุงเทพฯ ไปอุบลฯ ท่านนั่งคู่ไปกับอาจารย์คนหนึ่งซึ่งจะไปสอนพิเศษที่อุบลฯ และได้มีการสนทนากัน
อาจารย์ทางโลก "ทำไมพระชอบสอนเรื่องการเรียนว่าตายเกิด มันเสียนะครับ ผมเป็นนักวิทยาศาตร์ ผมรับไม่ได้"
อาจารย์ทางธรรม "โยมเป็นนักวิทยาศาสตร์ ก็ดีนะซิ ตามหลักวิทยาศาสตร์เท่าที่อาตมาเข้าใจนั้น ถ้ามีข้อมูล นักวิทยาศาสตร์ต้องหาสมมุติฐานที่จะอธิบายข้อมูลนั้น แล้วถ้าเราปฏิเสธสมมุติฐานอย่างหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ต้องมีสมมุติฐานอย่างอื่นใช่ไหม"
อาจารย์ทางโลก "ถูกต้องแล้วครับ"
อาจารย์ทางธรรมจึงเล่าเรื่องเด็กคนหนึ่งที่ระลึกชาติได้ว่า ชาติก่อนเกิดที่นั่น บ้านเป็นอย่างนั้น พ่อแม่ซึ่งขณะนั้นมีเรื่องราวอย่างนั้นๆ คนก็ตามไปพิสูจน์ ปรากฏว่าสิ่งที่เด็กบอกถูกต้องทุกอย่าง
อาจารย์ทางธรรม "การที่เด็กคนนี้สามารถเล่าถึงคนอีกคนหนึ่งในอดีต เล่าถึงรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตได้แม่นยำทุกข้อ สมมุติฐานทางพุทธศาสนาก็คือ เด็กคนนี้ในปัจจุบันระลึกชาติได้ โยมเป็นนักวิทยาศาสตร์ถือว่าการเวียนว่ายตายเกิดเป็นเรื่องงมงาย อาตมาก็ไม่ว่า แต่อยากจะฟังว่า สมมุติฐานของโยมเป็นอย่างไร ที่จะอธิบายเรื่องเด็กคนนี้ได้"
อาจารย์ทางโลก "...... งึมงำๆๆ.... ผมไม่รู้ล่ะ.... งึมงำๆๆ.... ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์..... งึมงำๆๆ.... ผมไม่เชื่อเรื่องงมงาย... งึมงำๆๆ......"
นักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยก็เป็นเช่นนี้แหละ วิทยาศาสตร์ของเขากลายเป็นศาสนาอย่างหนึ่ง ถ้าสิ่งใดขัดกับความเชื่อถือของตัวเอง ก็รับไม่ได้ ได้แต่ยืนยันว่าตัวเองเป็นนักวิทยาศาสตร์ สิ่งใดที่วัดเป็นตัวเลขไม่ได้ถือเป็นเรื่องงมงาย
(จาก หนังสือเรื่องท่านเล่า โดย ศรีอรา อิสสระ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น